วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System)

รายงานเรื่อง ระบบการเคลื่อนไหวและกล้ามเนื้อ
สมาชิก
    1. นาย กษิดิศ   ไกรพัฒนพงศ์        ม. 6/6   เลขที่ 7

    2. นาย กิจเกษม   เกียรติกุลวัฒนา   ม. 6/6   เลขที่ 8
    3. นาย ภูวน   วรรณธนาสิน           ม. 6/6   เลขที่ 9
    4. นาย ปัญญพัฒน์   บุรณพร         ม. 6/6   เลขที่ 15
    5. นาย ศิวกร   ศิลาวิโรจน์            ม. 6/6   เลขที่ 21
    6. นาย สรวิชญ์ สาครินทร์             ม. 6/6   เลขที่ 22

               โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์


ระบบการเคลื่อนไหวและกล้ามเนื้อ Musculoskeletal system


              กล้ามเนื้อเป็นระบบที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นกีฬา เมื่อกล้ามเนื้อหดตัวและคลายตัวจะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย ในลักษณะต่างๆ โดยได้รับคำสั่งจากระบบประสาทสั่งการ กล้ามเนื้อในร่างกายมีทั้งหมด 792 มัด กล้ามเนื้อแต่ละมัดในร่างกายจะมีปลาย 2 ด้าน ซึ่งส่วนปลายทั้งสองด้านของกล้ามเนื้อจะกลายเป็นเอ็นกล้ามเนื้อเพื่อยึดเกาะกับกระดูก

              
              การเคลื่อนไหวของร่างกายอาศัยการทำงานของกล้ามเนื้อลาย โดยมีกระดูกเป็นคาน และข้อต่อเป็นจุดหมุน ซึ่งกล้ามเนื้อที่พบในร่างกายมีอยู่ 3 ชนิด คือ

1.กล้ามเนื้อลายหรือกล้ามเนื้อโครงร่าง 


2. กล้ามเนื้อเรียบ

3. กล้ามเนื้อหัวใจ

รูปภาพที่ 1 ชนิดของกล้ามเนื้อ

กล้ามเนื้อลายหรือกล้ามเนื้อโครงร่าง Striated/ Skeletal muscle


                                     รูปภาพที่ 2 กล้ามเนื้อลาย                           รูปภาพที่ 3 กล้ามเนื้อลาย              


ลักษณะ : เป็นเซลล์แท่งยาว มีลายสลับ มีหลายนิวเคลียส การควบคุม ใต้อำนาจจิตใจ Voluntary 
                                                                                                                                                                        แหล่งที่พบ : แขน ขา คอ ลำตัว หน้า หน้าท้อง ไหล่

           กล้ามเนื้อลาย ประกอบด้วยเซลล์ลักษณะเป็นเส้นยาว เรียกว่า ใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) ซึ่งมีลายตามขวาง และมีเยื่อหุ้มเซลล์ เรียกว่า ซาร์โคเลมมา (sarcolemma) ซึ่งมีเนื้อเยื่อประสานหุ้มอีกชั้นหนึ่ง เรียกว่า เอนโดไมเซียม (endomysium) และมีนิวเคลียสหลายอันอยู่ด้านข้างของเซลล์ ใยกล้ามเนื้อลายประกอบด้วยเส้นใยขนาดเล็กเรียกว่า ไมโอไฟบริล (myofibril) ซึ่งประกอบด้วยฟิลาเมนท์ (filament) ใยกล้ามเนื้อหลายใยรวมกันเป็นมัดกล้ามเนื้อ และมีเนื้อเยื่อประสานหุ้มเรียกว่า เพอริไมเซียม (perimysium) มัดของกล้ามเนื้อขนาดเล็กนี้รวมกันเป็นมัดใหญ่และมีเนื้อเยื่อประสานเรียกว่า อีพิไมเซียม (epimysium) หุ้มอยู่


กล้ามเนื้อเรียบ Smooth muscle       


                                                                รูปภาพที่ 4 กล้ามเนื้อเรียบ


ลักษณะ : รูปร่างคล้ายกระสวย มีนิวเคลียสอยู่ตรงกลางเซลล์ มีไมโทคอนเดรียน้อยที่สุด การควบคุมเป็นแบบนอกอำนาจ 
           จิตใจ (Involuntary)
   
แหล่งที่พบ : อวัยวะภายใน เช่น หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้

           กล้ามเนื้อเรียบ เป็นกล้ามเนื้อที่ไม่มีลายตามขวาง ประกอบด้วยเส้นใยกล้ามเนื้อเรียบ ที่มีลักษณะแบนยาวแหลมหัวแหลมท้าย (รูปกระสวย) ภายในเซลล์มีนิวเคลียสอันเดียวตรงกลาง ใยแอกทินและไมโอซินของกล้ามเนื้อเรียบจะอยู่รวมกันอย่างไม่เป็นระเบียบและมองเห็นเป็นรูปร่างไม่ชัดเจน จึงทำให้เห็นเป็นลายไม่ชัดเจน จึงเรียกกล้ามเนื้อนี้ว่า กล้ามเนื้อเรียบ

           กล้ามเนื้อเรียบมีโปรตีนที่ละลายน้ำได้ (Water-soluble) น้อยกว่ากล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อเรียบมีไอออน ที่สำคัญๆ คือ K+ และ Ca++น้อยกว่าในกล้ามเนื้อลายแต่มี Na++สูงกว่า

กล้ามเนื้อหัวใจ Cardiac muscle

            
                                                                รูปภาพที่ 5 กล้ามเนื้อหัวใจ

ลักษณะ : ลายขวางสลับไปมา มีการแตกเชื่อมระหว่างเซลล์ มีไมโทคอนเดรียมากที่สุด การควบคุมเป็นแบบนอกอำนาจจิตใจ (Involuntary)                                                                   

แหล่งที่พบ : หัวใจ

           กล้ามเนื้อหัวใจ เป็นกล้ามเนื้อที่มีคุณสมบัติพิเศษแตกต่าง จากกล้ามเนื้ออื่น กล้ามเนื้อหัวใจมีการทำงานหรือเต้นเป็นจังหวะตลอดเวลา ไม่หยุดตั้งแต่เริ่มมีชีวิตจนกระทั่งสิ่งมีชีวิตตาย โดยเซลล์กล้ามเนื้อนี้มีแขนงไปประสานกับแขนงของเซลล์ใกล้เคียง เซลล์ทั้งหมดจึงหดตัวพร้อมกัน และหดตัวเป็นจังหวะตลอดชีวิต ควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ


การทำงานของกล้ามเนื้อ

            เมื่อสมองสั่งการให้ร่างกายเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อจะเกิดการหดตัวและคลายตัว ทำงานประสานกัน พร้อมกันแต่ตรงกันข้าม ในขณะที่กล้ามเนื้อมัดหนึ่งหดตัว กล้ามเนื้ออีกมัดหนึ่งจะคลายตัว การทำงานของกล้ามเนื้อในลักษณะนี้ เรียกว่า Antagonistic muscle 


                                                      
                                                          รูปภาพที่ 6 การทำงานของกล้ามเนื้อเป็นคู่


กระบวนการหดตัว และผลจากการหดตัวของกล้ามเนื้อ

               ถ้ากล้ามเนื้อหดตัวอย่างเต็มที่ สามารถลดความยาวได้ถึงครึ่งหนึ่งของความยาวตามปกติ แรงจากการหดตัวในคนเชื่อว่ามีแรงอยู่ระหว่าง 35 - 150 ปอนด์/ตารางนิ้ว การหดตัวของกล้ามเนื้อจะเกิดขึ้นได้ ถ้ามีแรงกระตุ้นจากคลื่นประสาทมากพอจนถึงระดับเทรชโฮล ซึ่งแรงกระตุ้นจากคลื่นประสาทจะทำให้เกิดศักย์ไฟฟ้า และมีการแพร่ขยายศักย์ไฟฟ้าไปตามใยกล้ามเนื้อซึ่งมีผลให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อทั้งมัด 


รูปภาพที่ 7 กลไกการทำงานของกล้ามเนื้อ


รูปภาพที่ 8 กลไกการหดตัวของกล้ามเนื้อ









เอกสารอ้างอิง
1.http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=8&chap=2&page=t8-     
   2-infodetail18.html
2.http://www.thaigoodview.com/node/32442
3.http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/vni/Program/unit2/p4.html
4.http://musclemwit2241.blogspot.com/2012/06/blog-post.html
5.http://fat.surin.rmuti.ac.th/teacher/songchai/muscle%20web/muscle%20contraction.htm

    



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น